Loading...

กบข./กสจ.

/กบข./กสจ.
กบข./กสจ. 2017-07-08T10:02:07+07:00

กบข.

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)คือกองทุนที่จัดขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 (พระราชบัญญัติ กบข.) Website กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ http://www.gpf.or.th

  • วัตถุประสงค์
    • เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากข้าราชการ
    • ส่งเสริมการออมของสมาชิก
    • จัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก

กบข. มีสถานะเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ กบข. และมีหน้าที่กำกับดูแลโดยทั่วไป

  • ผู้มีสิทธิเป็นสมาชิก กบข.

ข้าราชการที่เข้ารับราชการตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2540 ทุกคนต้องเป็นสมาชิก กบข. แต่ข้าราชการที่รับราชการอยู่ก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 มีสิทธิเลือกว่าจะเป็นสมาชิกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ

ทั้งนี้ เมื่อปี 2549 ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติ กบข. เพื่อรองรับสิทธิของผู้ที่เป็นสมาชิก คือ ให้สิทธิสมาชิก กบข. ที่โอนย้ายไปปฏิบัติงานที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีให้คงเป็นสมาชิก กบข. ต่อไปได้ และอีกกลุ่ม คือ สมาชิกซึ่งรับราชการอยู่ ในมหาวิทยาลัยที่แปรสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และมีความประสงค์เป็นสมาชิก กบข. ต่อไป แม้มหาวิทยาลัยจะไม่เป็นส่วนราชการแล้วก็ตาม

  • ทางเลือกในการบริหารเงินออม (ออมเพิ่ม)

การออมเพิ่ม เป็นการให้สิทธิแก่สมาชิก กบข. ในการเลือกส่งเงินสะสมเพิ่มได้ โดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550 มาตรา 39 กำหนดไว้ว่าสมาชิกผู้ใดที่จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราร้อยละ 3 ที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ กบข. กำหนดแต่ทั้งนี้ การส่งเงินสะสมตามมาตรานี้รวมกันแล้วจะต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินเดือนสมาชิกผู้นั้น

Download >> แบบแจ้งความประสงค์ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
คุณญาณิน  ชัยทิพย์ / คุณกิติพร ดวงเพ็ชร
โทร. 0-2218-0183  โทรสาร 0-2218-0159
อีเมล : yupa.w@chula.ac.th / kitiporn.d@chula.ac.th

กสจ.

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เรียกโดยย่อ “กสจ.” จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 มอบหมายให้กระทรวงการคลังดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งกองทุนโดยมอบหมาย กรมบัญชีกลางดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคลจัดตั้งกองทุน เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2540 Website : http://www.gpef.or.th/index.php

  • วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุน
    • เพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่ลูกจ้างประจำ มีเงินไว้ใช้เมื่อออกจากราชการ
    • เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรัฐและลูกจ้างประจำ (ลูกจ้างสะสมร้อยละ 3 รัฐสมทบให้ร้อยละ 3)
    • เป็นการสร้างสถาบันเงินออม
    • เป็นการสร้างหลักประกันให้แก่ครอบครัวเมื่อสมาชิกกองทุน กสจ. เสียชีวิต
  • ประโยชน์ที่สมาชิกได้รับ
    • ได้รับเงินสมทบจากส่วนราชการร้อยละ 3 เท่ากับเงินที่สมาชิก กสจ. จ่ายสะสมในแต่ละเดือน และเมื่อสิ้นสมาชิกภาพไม่ว่าจะกรณีใดๆ ก็ตาม เช่น การถูกปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ สมาชิกยังคงได้รับเงินจาก กสจ.
    • ได้รับเงินบำเหน็จลูกจ้างเหมือนเดิมทุกประการ
    • ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี คือสามารถนำเงินสะสมไปหักลดหย่อนภาษีได้
    • ได้รับสิทธิการเป็นสมาชิกเฉพาะลูกจ้างประจำเท่านั้น
  • ขั้นตอนการสมัครสมาชิกกองทุนฯ
    • Download แบบใบสมัครสมาชิกกองทุน
    • ลูกจ้างประจำยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนฯ พร้อมแนบเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ให้ฝ่ายหน่วยการเจ้าหน้าที่ของส่วนงาน ตรวจสอบความถูกต้อง
    • ฝ่ายหน่วยการเจ้าหน้าที่ของส่วนงาน จัดทำบันทึกข้อความพร้อมแนบเอกสารตามข้อ 1 ส่งไปยังสำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงข้อมูลสมาชิกและหนังสือแสดงเจตนา
    • Download แบบคำขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลสมาชิกและผู้รับประโยชน์
    •  สมาชิกกองทุนฯ กรอกรายละเอียดลงในแบบคำขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลสมาชิกและผู้รับผลประโยชน์ (แบบ กสจ. 002) แล้วแต่กรณี พร้อมแนบสำเนาเอกสารหลักฐานการขอเปลี่ยนแปลง และรับรองสำเนาถูกต้อง ยื่นฝ่ายหน่วยการเจ้าหน้าที่ของส่วนงาน ตรวจสอบความถูกต้อง
    • ฝ่ายหน่วยการเจ้าหน้าที่ของส่วนงาน สำเนาเอกสารการเปลี่ยนแปลงข้อมูลสมาชิกและหนังสือแสดงเจตนาเข้ากองทุนฯของลูกจ้างประจำเก็บไว้ 1 ชุด เพื่อเป็นหลักฐาน
    • ฝ่ายหน่วยการเจ้าหน้าที่ของส่วนงาน จัดทำบันทึกข้อความพร้อมแนบเอกสารตามข้อ 2 ส่งไปยังสำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • การขอรับเงินกองทุน กรณีการสิ้นสุดสมาชิกด้วยสาเหตุ เกษียณอายุราชการ ลาออกจากราชการ ถูกสั่งให้ออกจากราชการ ถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ
    • Download แบบ กสจ.004/1 (PDF File 3)
    • สมาชิกกองทุนฯ กรอกแบบคำขอรับเงินกองทุน กสจ. (แบบ กสจ.004/1) พร้อมแนบเอกสาร และรับรองสำเนาถูกต้อง ยื่นให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของส่วนงาน ตรวจสอบความถูกต้อง ดังนี้
      • สำเนาคำสั่งการพ้นสถานภาพของลูกจ้างประจำเงินงบประมาณแผ่นดิน
      • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาทะเบียนบ้าน
      • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารหน้าแรกที่แสดงชื่อ-สกุล และเลขที่บัญชีธนาคาร
    • ฝ่ายกองการเจ้าหน้าที่ของส่วนงาน จัดทำบันทึกข้อความพร้อมแนบเอกสารตามข้อ 1.2 ส่งไปยังสำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • การขอรับเงินกองทุน กรณีการสิ้นสุดสมาชิกด้วยสาเหตุการตาย
    • รับผลประโยชน์ตามที่สมาชิกแสดงเจตนาไว้หรือทายาทผู้มีสิทธิรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มากรอกเอกสารและยื่นเรื่องที่ สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีเอกสารดังนี้
      • แบบ กสจ.004/2
      • สำเนาคำสั่งลูกจ้างประจำเงินงบประมาณแผ่นดินขาดจากอัตรา
      • สำเนาใบมรณบัตรของสมาชิก
      • สำเนาแบบแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับประโยชน์ (ถ้ามี)
      • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนของผู้รับผลประโยชน์
      • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารหน้าแรกที่แสดงชื่อ-สกุล และเลขที่บัญชีธนาคาร ของผู้รับผลประโยชน์
    • สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ จัดทำหนังสือประทับตราแทนการลงชื่อส่งไปยังบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
คุณจุฑารัตน์  เสริมกุลเชื้อ
โทร. 0-2218-0148   โทรสาร 0-2218-0159
อีเมล : jutarat.s@chula.ac.th

 

(Visited 161 times, 1 visits today)